วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล

 2.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายใน จะทำให้ตำบลทราบถึงความสามารถหรือความเป็นตัวตนของตำบล

            (1) จุดอ่อน คือ ลักษณะหรือข้อด้อยของตำบลเมื่อเทียบกับตำบลอื่น             

(1.1) ความไม่ต่อเนื่องของผู้บริหาร

(1.2) ข้าราชการไม่มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน

(1.3) ผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน

(1.4) แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  ไม่ได้รับการพัฒนา

(1.5) ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ

(1.6) ประชาชนขาดความรู้ในด้านการจัดการผลิตและแปรรูป

(1.7) ขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ

(1.8) เกษตรกรไม่มีความรู้ด้านเทคนิคและเทคโนโลยีต่างๆเพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม

(1.9) ฐานการผลิตแคบและกระจุกตัวในบางพื้นที่

         (2)  จุดแข็ง คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของตำบลเมื่อเทียบกับตำบลอื่น            

               (2.1) พื้นที่ติดแนวชายแดนไทย – มาเลเซีย

                (2.2) ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งและมีอิสระในการพัฒนา ท้องถิ่น

               (2.3) สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม

               (2.4) มีทางหลวงแผ่นดินผ่านตำบล

               (2.5) มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ควรอนุรักษ์ ได้แก่  ป่าพรุโต๊ะแดง  บึงบอยอ

               (2.6) มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายเป็นต้นทุนทางสังคม

               (2.7) มีผู้นำที่เข้มแข็ง

2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้ตำบลทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของตำบล

          (1) โอกาส

                (1.1) มีถนนเชื่อมระหว่างชายแดน

               (1.2) รัฐให้การกระจายอำนาจและงบประมาณสู่ท้องถิ่น

               (1.3) มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย  เอื้ออำนวยต่อการค้าชายแดนและการลงทุน

               (1.4) มีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและสิงคโปร์เข้ามาเที่ยวอย่างต่อเนื่อง

               (1.5) ประชาชนสามารถสื่อสารได้หลายภาษา

                (1.6) มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เช่นป่าพรุสิรินธร

               (1.7) ประชาชนส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวผู้นำ

               (1.8) ผู้นำท้องถิ่น/ศาสนา มีความรู้ความสามารถและมีภูมิปัญญาชาวบ้าน

               (1.9) เป็นชุมชนชนบทที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

          (2) อุปสรรค
               (2.1) ประชาชนบางกลุ่มไม่มั่นใจในนโยบายของรัฐบาลและผู้บริหาร

               (2.2) ประชาชนบางกลุ่มไม่เชื่อมั่นในระบบราชการ

               (2.3) ปัญหาบุคคลสองสัญชาติ

                (2.4) ประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจในกฎหมาย  การเมือง การบริหาร

               (2.5) ประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับต่ำ

               (2.6) เกษตรกรขาดความกระตือรือร้นในการช่วยเหลือตนเองและรอรับการช่วยเหลือจากรัฐแต่เพียงอย่าเดียว

               (2.7) เกษตรกรขาดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

               (2.8) ประชาชน  โดยเฉพาะเยาวชนบางส่วนยังไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง  ทำให้ใช้ภาษาสื่อสารกันยาก

                (2.9) ประชาชนขาดความรู้ด้านสุขภาพอนามัย

                (2.10) ปัญหายาเสพติด

               (2.11) ประชาชนไม่ตระหนักในผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

               (2.13) ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่

 

2.3 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการวางแผนงาน (CIA)

 



2. 4 ทิศทางการพัฒนา

ทิศทางการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

-          บุกเบิก สร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาทางคมนาคม สะพาน ระบบระบายน้ำ สร้างปรับปรุงแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค

-          จัดทำผังเมือง ผังตำบล และพัฒนาระบบจราจร

-          จัดให้มีไฟฟ้าและระบบโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง

ทิศทางการพัฒนาด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต

-          ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างงานสร้างอาชีพแบบยั่งยืนให้กับประชาชนในท้องถิ่น

-          ส่งเสริมงานด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการชุมชนแก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม

-          ส่งเสริมการศึกษาทั้งในนอกระบบตามอัธยาศัยโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

-          ส่งเสริมศักยภาพศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด

-          ส่งเสริมการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ

-          ส่งเสริมการป้องกัน รักษา ควบคุมโรค ตลอดจนการพัฒนาด้านการสาธารณสุข

-          ส่งเสริมสนับสนุนการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ทิศทางการพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน / สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย

-          ส่งเสริมให้ความรู้ เข้าใจ แก่ประชาชนเกี่ยวกับระบบประชาธิปไตย

-          พัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตลอดจนการรักษาความสงบ

-          เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในที่มีส่วนร่วมในการรักษาความสงบเรียบร้อยในท้องถิ่น

-          ส่งเสริมให้ผู้นำศาสนาเข้ามามีบทบาทเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแก้ปัญหาความมั่นคง

ทิศทางการพัฒนาด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว

-          ส่งเสริมการตลาดการค้าการลงทุนในท้องถิ่นเมืองชายแดนเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

-          ส่งเสริมระบบเศรฐกิจชุมชนและผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น

-          ส่งเสริมในประชาชนยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมโครงการตามแนวพระราดำริ

-          พัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

ทิศทางการพัฒนาด้านการบริหารจัดการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-          อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-          ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกการร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-          ปรับปรุงภูมิทัศน์ในชุมชนและเมือง

-          จัดทำระบบกำจัดขยะสิ่งปฏิกูลและระบบบำบัดน้ำเสีย

ทิศทางการพัฒนาด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

-          ส่งเสริมการอนุรักษ์ฟื้นฟูสืบทอดจารีตประเพณีศิลปวัฒนธรรม

-          ส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นปูชนียบุคคล

-          เสริมสร้างและทำนุบำรุงศาสนาศิลปวัฒนธรรม

-          ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์โบราณวัตถุและโบราณสถาน

-          ส่งเสริมสับสนุนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของเด็กเยาวชนและประชาชน

 

ทิศทางการพัฒนาด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

-          พัฒนาความรู้ความสามารถและคุณธรรมจริยธรรมแก่บุคลากรในองค์กร

-          พัฒนาปรับปรุงจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนสถานที่ในการปฏิบัติงาน

-          พัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล

-          ปรับปรุงและสร้างระบบการให้บริการที่ทันสมัยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

-          ส่งเสริมและสร้างทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานเพื่อการบริการประชาชน พัฒนาส่งเสริมระบบการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดำเนินงานขององค์กรเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

ทิศทางการพัฒนาด้านการป้องกันยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด

-          การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

-          การบริหารจัดการอย่างบูรณาการ

ทิศทางการพัฒนาด้านการปราบปรามยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ

ทิศทางการพัฒนาด้านการบำบัดรักษายาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาระบบรองรับการคืนคนดีให้สังคม

 

 2.5 กลยุทธ์หรือวิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ทิศทาง/เป้าหมายของการพัฒนา

1. ระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ระบบจราจร ตั้งตำบลได้มาตรฐาน

2. ประชาชนมีอาชีพ รายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน บริการด้านสวัสดิการสังคม กีฬา นันทนาการ การศึกษา และการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง การปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดของตำบลมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

3. ประชาชนมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีประสิทธิภาพ

4. การส่งเสริมการค้า การลงทุน ผลิตภัณฑ์ชุมชน การท่องเที่ยวในท้องถิ่นอย่างมั่นคงและยั่งยืนสู่ประชาคมอาเซียน

5. ระบบการจัดการขยะ น้ำเสีย สิ่งปฏิกูล ตลอดทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน

6. ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ทำนุบำรุงศาสนา อนุรักษ์ ฟื้นฟูสืบสานจารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ คงอยู่สืบไป

7. การบริหารจัดการขององค์กรดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชน

          8เสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการตนเองให้มีความปลอดภัยสงบเรียบร้อย และความมั่นคงในพื้นที่ ป้องกันแกไขปัญหายาเสพติด

การวิเคราะห์ปัญหาของตำบล


ลำดับความสำคัญของปัญหา

ชื่อปัญหา

สาเหตุของปัญหา

ข้อมูลบ่งชี้สภาพ ขนาด และความรุนแรงของปัญหา

แนวทางการแก้ไขปัญหา

1

ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค

บ่อบาดาลตื้นเขิน ขาดแหล่งกักเก็บน้ำถาวร

 

ขุดเจาะบ่อบาดาลเดิม และสร้างแหล่งเก็บน้ำ

2

น้ำแดงเป็นสนิมไม่สามารถนำมาอุปโภคบริโภคได้

น้ำตกดะกอน

 

ขยายเขตประปาส่วนภูมิภาค

3

น้ำท่วมขังไม่สามารถระบายน้ำได้

ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม

 

ขุดลอกคูระบายน้ำ

4

ปัญหาขยะมูลฝอย

ไม่มีการบริหารจัดการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

จัดอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการคัดแยกขยะให้กับคนในชุมชน มีการจัดกิจกรรมแข่งขันในแต่ละคุ้ม

5

 

ปัญหาถังขยะไม่พียงพอ

ถังขยะมีน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนชาวบ้านที่อยู่อาศัยในแต่ละคุ้มบ้าน

 

ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการจัดหาถังขยะ

 

6

ปัญหาการถนน

ถนนบางสายเป็นหลุมเป็นบ่อและการเดินทางไม่สะดวก

 

ซ่อมแซมถนนและก่อสร้างถนน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของตำบล

  1. แผนที่ตำบล 2. ประวัติความเป็นมาของตำบล            เทศบาลตําบลปาเสมัส เป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริห...