วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของตำบล

 1. แผนที่ตำบล


2. ประวัติความเป็นมาของตำบล

          เทศบาลตําบลปาเสมัส เป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตําาบลปาเสมัส เป็นเทศบาลตําาบลปาเสมัส ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2555 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 6กันยายน 2555 ดําาเนินการตามอําานาจหน้าที่เป็นไปตามระเบียบเทศบาล พ.ศ.2496 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 (พ.ศ.2552) เพื่อบริการประชาชน และพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลความเป็นมา คําาว่า ปาเสมัส” เป็นภาษายาวีท้องถิ่น แปลว่า ทรายทอง บุคคลดั้งเดิมได้บอกกล่าวต่อ ๆ กันมาว่า เนื่องจากพื้นที่บางส่วนของตําบลปาเสมัส ติดชายแดนมาเลเซีย มีแม่น้ำสุไหงโก-ลกไหลผ่าน จะมีเนินทรายสีขาวตลอดทั้งสองฝั่งไทย – มาเลเซีย ในเวลาช่วงเที่ยงแสงแดดส่อง เม็ดทรายจะสะท้อนเป็นสีทองระยิบระยับสวยงามมาก แต่ในปัจจุบันยังมีร่องรอยดังกล่าวให้เห็นไม่มากนัก เนื่องจากความเจริญของบ้านเมือง

3. พื้นที่ทั้งหมด 38.192 ตารางกิโลเมตร

4. อาณาเขต

   ตำบลปาเสมัส ตั้งอยู่ในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ห่างจากอำเภอทว่าการอำเภอสไหงโก-ลก ไปทางทิศใต้  4 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนราธิวาส ไปทางทิศเหนือ 54 กิโลเมตร  มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

         ทิศเหนือ          ติดต่อกับเขตตำบลปูโยะอำเภอสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาส  

          ทิศใต้              ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาส

          ทิศตะวันออก    ติดต่อกับแม่น้ำสุไหงโก-ลก (พรมแดนไทยมาเลเซีย)

          ทิศตะวันตก      ติดต่อกับเขตอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

5. ลักษณะภูมิประเทศ

          ลักษณะโดยทั่วไปของตำบลปาเสมัสเป็นที่ราบลุ่ม ครั้งหนึ่งเป็นเขตป่าสงวนมีแม่น้ำสุไหงโก-ลกผ่านตามแนวเขตระหว่างตำบลปาเสมัสมาเลเซีย มีบึงขนาดใหญจำนวน แห่ง ชื่อว่า บึงบอยอ” มีเนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ และ บึงกูเจ” มีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ตั้งอยู่หมู่ที่ 4

6. จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 20,393 คน แยกเป็น ชาย 9,799 คน หญิง 10,594 คน

    6.1 ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ) รวมทั้งสิ้น 399 คน แยกเป็น

          ชาย 212 คน หญิง 189 คน

    6.2 คนพิการ รวมทั้งสิ้น 300 คน แยกเป็น ชาย 189 คน หญิง 111 คน

7. จำนวนครัวเรือน 2599 ครัวเรือน (ตามทะเบียน/ตามข้อมูลการจัดเก็บ จปฐ )

8. การประกอบอาชีพ

    8. ๑ อาชีพหลักของครัวเรือน

           8. ๑. ๑ อาชีพ รับจ้างทั่วไป       จำนวน  3902  คน/ครัวเรือน

           8. ๑. ๒ อาชีพ ค้าขาย             จำนวน  665    คน/ครัวเรือน

           8. ๑. 3 อาชีพ เกษคร ทำสวน    จำนวน  103    คน/ครัวเรือน

           8. ๑. 5 อาชีพ รับราชการ        จำนวน  294    คน/ครัวเรือน

           8. ๑. 6 อาชีพ พนักงานบริษัท    จำนวน  310    คน/ครัวเรือน

           8. ๑. 7 อาชีพ รัฐวิสาหกิจ        จำนวน   2       คน/ครัวเรือน

           8. ๑. 8 อาชีพ อาชีพอื่นๆ         จำนวน  11      คน/ครัวเรือน

    8. ๒ อาชีพเสริมหรืออาชีพรอง

          8. ๒. ๑ อาชีพ ทำขนม             จำนวน   92     คน/ครัวเรือน

          8. ๒. ๒ อาชีพ ตัดเย็บ              จำนวน   56     คน/ครัวเรือน

          8. ๒. 3 อาชีพ ปลูกผัก             จำนวน  184   คน/ครัวเรือน  

          8. ๒. 4 อาชีพ เย็บตับจากสาคู    จำนวน  27      คน/ครัวเรือน

          8. ๒. 5 อาชีพ หาของป่า           จำนวน  12      คน/ครัวเรือน

9. ผู้ว่างงาน จำนวน 1480 คน แยกเป็น

          9. ๑ กลุ่มอายุ ๑๓ ๑๔ ปี        จำนวน  148  คน

          ๔. ๒ กลุ่มอายุ ๑๙ - ๒๕ ปี        จำนวน  449  คน

          ๙. ๓ กลุ่มอายุ ๒๕ ปี ขึ้นไป        จำนวน  883  คน

 10. ตำบลมีรายได้ 28,421,000   บาท/ปี   รายจ่าย 19,185,000  บาท/ปี

       มีหนี้สิน 19,185,000 บาท / ปี

11. รายได้เฉลี่ยของประชากร (ตามเกณฑ์จปฐ. ปี)   จำนวน 49808.64 บาท/คน/ปี

      ครัวเรือนยากจน (รายได้ไม่ถึง ๓๘000 บาท คน/ปี) ปี 2562

      จำนวน 36 ครัวเรือน


12. กองทุนในตำบล  มีจำนวน 3 กองทุน ดังนี้

    ๑๓.๑ กองทุนหมู่บ้าน   มีจำนวน 8 กองทุน

            มีงบประมาณรวม 8,000,000 บาท

    ๑๓.๒ กองทุนแม่ของแผ่นดิน  มีจำนวน 6 กองทุน

            มีงบประมาณรวม 68,000 บาท

    ๑๓.๓ กองทุน โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ  มีจำนวน 3 กองทุน

            มีงบประมาณรวม 1,500,000 บาท

13. ข้อมูลความต้องการพัฒนาฝีมือแรงงานของประชาชน

       อาชีพทำขนม                           จำนวน  105    คน     

       ทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้                  จำนวน    ๑๐    คน

       ทำลูกชิ้นปลาเพื่อการจำหน่าย         จำนวน    ๒๐    คน

       อาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า                     จำนวน    45    คน

       อาชีพช่างเชื่อม                         จำนวน    ๑๕    คน

       อาชีพช่างตัดผม                         จำนวน     22    คน

       อาชีพทำเฟอร์นิเจอร์                   จำนวน    20    คน     

14 ข้อมูลคมนาคม/สาธารณูปโภค

    14.1 การเดินทางเข้าตำบล

          การคมนาคมเทศบาลตำบลปาเสมัสมีถนนเส้นทางหลักของทางหลวงแผ่นดินสาย ๔๐๕๓๗ ตากใบ-สุไหงโกลกประชาชนได้ใช้เส้นทางหลักนี้เป็นเส้นทางในการการคมนาคมและการขนส่ง ได้แก่ ทางรถยนต์และในเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงมีการคมนาคมทางรถไฟจากกรุงเทพฯไปแยกที่สถานีทางหาดใหญ่สุดปลายทางที่สถานีสุไหงโก-ลก (ชายแดนไทย-มาเลเซีย) และจากสถานีสุไหงโก-ลกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งบริการเป็นประจำทุกวัน ๆ ละ ๑๖ ขบวนและมีถนนต่าง ๆ

    14.2 สาธารณูปโภค

การไฟฟ้า

          ปัจจุบันการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสุไหงโก-ลกสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าในหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลปาเสมัสรวม ๔ หมู่บ้านดังนี้

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้

1

บ้านชรายอ

976

2

บ้านตือระ

546

3

บ้านกวาลอชีราออก

298

4

บ้านมือบา

342

5

บ้านน้ำตก

1,824

6

บ้านชรายอออก

1,325

7

บ้านกวาลอชีรา

378

8

บ้านลูโบ๊ะซามา

259

รวมทั้งสิ้น

5,948

 

 

การประปา

          ในเขตเทศบาลตำบลปาเสมัส มีระบบประปาหมู่บ้านและระบบประปาส่วนภูมิภาค

          - ระบบประปาหมู่บ้านจำนวน ๑๑ แห่งดังนี้

           (๑) ประปาหมู่บ้านหมู่ที่           ๒                 จํานวน แห่ง

           (๒) ประปาหมู่บ้านหมู่ที่           ๓                 จำนวน ๓ แห่ง

           (๓) ประปาหมู่บ้านหมู่ที่           ๔                 จำนวน ๒ แห่ง

           (๔) ประปาหมู่บ้านหมู่ที่           ๕                 จำนวน ๒ แห่ง

           (๕) ประปาหมู่บ้านหมู่ที่           ๑ (บาดาล)       จำนวน ๒ แห่ง

    - ระบบประปาส่วนภูมิภาคดังนี้

          หมู่ที่ ๑หมู่ที่ ๒หมู่ที่ ๓หมู่ที่ ๔หมู่ที่ ๕หมู่ที่ ๖หมู่ที่ ๗หมู่ที่ 8

 

    -ครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลปาเสมัสมีน้ำประปาดังนี้

 

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือนที่มีน้ำประปา

บ่อน้ำตื้น

1

บ้านชรายอ

520

456

2

บ้านตือระ

389

157

3

บ้านกวาลอชีราออก

120

178

4

บ้านมือบา

200

142

5

บ้านน้ำตก

1789

35

6

บ้านชรายอออก

1290

62

7

บ้านกวาลอชีรา

264

114

8

บ้านลูโบ๊ะซามา

148

111

รวมทั้งสิ้น

4572

1255

 

โทรศัพท์

          - โทรศัพท์สาธารณะจำนวน ๑๕ แห่ง

          - เสาสัญญาณ DTAC จำนวน ๒ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๓)

          - เสาสัญญาณสื่อสาร GSM จำนวน ๒ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๓)

          - หอกระจายข่าวจำนวน ๑๒ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑-๔)

          - วิทยุชุมชนจำนวน ๒ สถานี (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ และหมู่ที่ ๗)

 

ไปรษณีย์ / การสื่อสาร / การขนส่งวัสดุครุภัณฑ์

          มีไปรษณีย์จำนวน ๑ แห่งให้บริการเวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.00 น. (ในวันจันทร์-เสาร์วันเสาร์ครึ่งวัน) หยุดวันอาทิตย์

 

14.3 แหล่งน้ำ

    แหล่งน้ำธรรมชาติ ตำบลปาเสมัส มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบด้วย

          - บึง   จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ บึงบอยอ (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓) และบึงกูเจตั้งอยู่หมู่ที่ ๔

          - ลำน้ำจำนวน ๕ สาย (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๔ และหมู่ที่ ๕)

          - ลำห้วยจำนวน ๓ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒๓ และหมู่ที่ ๔)

    แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นและใช้การได้ ประกอบด้วย

          - ประปาหมู่บ้านจำนวน ๑๑ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๔ และหมู่ที่ ๔)

          - บ่อน้ำตื้นจำนวน ๔ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๓)

          - บ่อน้ำบาดาลจำนวน ๓ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๓๗)

          - คลองชลประทานจำนวน ๑ แห่ง (ผ่านหมู่ที่ ๒๔ และหมู่ที่ ๕)

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล

 2.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายใน จะทำให้ตำบลทราบถึงความสามารถหรือความเป็นตัวตนของตำบล

            (1) จุดอ่อน คือ ลักษณะหรือข้อด้อยของตำบลเมื่อเทียบกับตำบลอื่น             

(1.1) ความไม่ต่อเนื่องของผู้บริหาร

(1.2) ข้าราชการไม่มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน

(1.3) ผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน

(1.4) แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  ไม่ได้รับการพัฒนา

(1.5) ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ

(1.6) ประชาชนขาดความรู้ในด้านการจัดการผลิตและแปรรูป

(1.7) ขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ

(1.8) เกษตรกรไม่มีความรู้ด้านเทคนิคและเทคโนโลยีต่างๆเพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม

(1.9) ฐานการผลิตแคบและกระจุกตัวในบางพื้นที่

         (2)  จุดแข็ง คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของตำบลเมื่อเทียบกับตำบลอื่น            

               (2.1) พื้นที่ติดแนวชายแดนไทย – มาเลเซีย

                (2.2) ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งและมีอิสระในการพัฒนา ท้องถิ่น

               (2.3) สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม

               (2.4) มีทางหลวงแผ่นดินผ่านตำบล

               (2.5) มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ควรอนุรักษ์ ได้แก่  ป่าพรุโต๊ะแดง  บึงบอยอ

               (2.6) มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายเป็นต้นทุนทางสังคม

               (2.7) มีผู้นำที่เข้มแข็ง

2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้ตำบลทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของตำบล

          (1) โอกาส

                (1.1) มีถนนเชื่อมระหว่างชายแดน

               (1.2) รัฐให้การกระจายอำนาจและงบประมาณสู่ท้องถิ่น

               (1.3) มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย  เอื้ออำนวยต่อการค้าชายแดนและการลงทุน

               (1.4) มีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและสิงคโปร์เข้ามาเที่ยวอย่างต่อเนื่อง

               (1.5) ประชาชนสามารถสื่อสารได้หลายภาษา

                (1.6) มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เช่นป่าพรุสิรินธร

               (1.7) ประชาชนส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวผู้นำ

               (1.8) ผู้นำท้องถิ่น/ศาสนา มีความรู้ความสามารถและมีภูมิปัญญาชาวบ้าน

               (1.9) เป็นชุมชนชนบทที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

          (2) อุปสรรค
               (2.1) ประชาชนบางกลุ่มไม่มั่นใจในนโยบายของรัฐบาลและผู้บริหาร

               (2.2) ประชาชนบางกลุ่มไม่เชื่อมั่นในระบบราชการ

               (2.3) ปัญหาบุคคลสองสัญชาติ

                (2.4) ประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจในกฎหมาย  การเมือง การบริหาร

               (2.5) ประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับต่ำ

               (2.6) เกษตรกรขาดความกระตือรือร้นในการช่วยเหลือตนเองและรอรับการช่วยเหลือจากรัฐแต่เพียงอย่าเดียว

               (2.7) เกษตรกรขาดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

               (2.8) ประชาชน  โดยเฉพาะเยาวชนบางส่วนยังไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง  ทำให้ใช้ภาษาสื่อสารกันยาก

                (2.9) ประชาชนขาดความรู้ด้านสุขภาพอนามัย

                (2.10) ปัญหายาเสพติด

               (2.11) ประชาชนไม่ตระหนักในผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

               (2.13) ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่

 

2.3 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการวางแผนงาน (CIA)

 



2. 4 ทิศทางการพัฒนา

ทิศทางการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

-          บุกเบิก สร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาทางคมนาคม สะพาน ระบบระบายน้ำ สร้างปรับปรุงแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค

-          จัดทำผังเมือง ผังตำบล และพัฒนาระบบจราจร

-          จัดให้มีไฟฟ้าและระบบโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง

ทิศทางการพัฒนาด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต

-          ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างงานสร้างอาชีพแบบยั่งยืนให้กับประชาชนในท้องถิ่น

-          ส่งเสริมงานด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการชุมชนแก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม

-          ส่งเสริมการศึกษาทั้งในนอกระบบตามอัธยาศัยโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

-          ส่งเสริมศักยภาพศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด

-          ส่งเสริมการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ

-          ส่งเสริมการป้องกัน รักษา ควบคุมโรค ตลอดจนการพัฒนาด้านการสาธารณสุข

-          ส่งเสริมสนับสนุนการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ทิศทางการพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน / สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย

-          ส่งเสริมให้ความรู้ เข้าใจ แก่ประชาชนเกี่ยวกับระบบประชาธิปไตย

-          พัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตลอดจนการรักษาความสงบ

-          เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในที่มีส่วนร่วมในการรักษาความสงบเรียบร้อยในท้องถิ่น

-          ส่งเสริมให้ผู้นำศาสนาเข้ามามีบทบาทเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแก้ปัญหาความมั่นคง

ทิศทางการพัฒนาด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว

-          ส่งเสริมการตลาดการค้าการลงทุนในท้องถิ่นเมืองชายแดนเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

-          ส่งเสริมระบบเศรฐกิจชุมชนและผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น

-          ส่งเสริมในประชาชนยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมโครงการตามแนวพระราดำริ

-          พัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

ทิศทางการพัฒนาด้านการบริหารจัดการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-          อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-          ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกการร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-          ปรับปรุงภูมิทัศน์ในชุมชนและเมือง

-          จัดทำระบบกำจัดขยะสิ่งปฏิกูลและระบบบำบัดน้ำเสีย

ทิศทางการพัฒนาด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

-          ส่งเสริมการอนุรักษ์ฟื้นฟูสืบทอดจารีตประเพณีศิลปวัฒนธรรม

-          ส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นปูชนียบุคคล

-          เสริมสร้างและทำนุบำรุงศาสนาศิลปวัฒนธรรม

-          ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์โบราณวัตถุและโบราณสถาน

-          ส่งเสริมสับสนุนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของเด็กเยาวชนและประชาชน

 

ทิศทางการพัฒนาด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

-          พัฒนาความรู้ความสามารถและคุณธรรมจริยธรรมแก่บุคลากรในองค์กร

-          พัฒนาปรับปรุงจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนสถานที่ในการปฏิบัติงาน

-          พัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล

-          ปรับปรุงและสร้างระบบการให้บริการที่ทันสมัยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

-          ส่งเสริมและสร้างทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานเพื่อการบริการประชาชน พัฒนาส่งเสริมระบบการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดำเนินงานขององค์กรเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

ทิศทางการพัฒนาด้านการป้องกันยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด

-          การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

-          การบริหารจัดการอย่างบูรณาการ

ทิศทางการพัฒนาด้านการปราบปรามยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ

ทิศทางการพัฒนาด้านการบำบัดรักษายาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด

-          ยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาระบบรองรับการคืนคนดีให้สังคม

 

 2.5 กลยุทธ์หรือวิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ทิศทาง/เป้าหมายของการพัฒนา

1. ระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ระบบจราจร ตั้งตำบลได้มาตรฐาน

2. ประชาชนมีอาชีพ รายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน บริการด้านสวัสดิการสังคม กีฬา นันทนาการ การศึกษา และการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง การปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดของตำบลมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

3. ประชาชนมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีประสิทธิภาพ

4. การส่งเสริมการค้า การลงทุน ผลิตภัณฑ์ชุมชน การท่องเที่ยวในท้องถิ่นอย่างมั่นคงและยั่งยืนสู่ประชาคมอาเซียน

5. ระบบการจัดการขยะ น้ำเสีย สิ่งปฏิกูล ตลอดทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน

6. ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ทำนุบำรุงศาสนา อนุรักษ์ ฟื้นฟูสืบสานจารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ คงอยู่สืบไป

7. การบริหารจัดการขององค์กรดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชน

          8เสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการตนเองให้มีความปลอดภัยสงบเรียบร้อย และความมั่นคงในพื้นที่ ป้องกันแกไขปัญหายาเสพติด

การวิเคราะห์ปัญหาของตำบล


ลำดับความสำคัญของปัญหา

ชื่อปัญหา

สาเหตุของปัญหา

ข้อมูลบ่งชี้สภาพ ขนาด และความรุนแรงของปัญหา

แนวทางการแก้ไขปัญหา

1

ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค

บ่อบาดาลตื้นเขิน ขาดแหล่งกักเก็บน้ำถาวร

 

ขุดเจาะบ่อบาดาลเดิม และสร้างแหล่งเก็บน้ำ

2

น้ำแดงเป็นสนิมไม่สามารถนำมาอุปโภคบริโภคได้

น้ำตกดะกอน

 

ขยายเขตประปาส่วนภูมิภาค

3

น้ำท่วมขังไม่สามารถระบายน้ำได้

ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม

 

ขุดลอกคูระบายน้ำ

4

ปัญหาขยะมูลฝอย

ไม่มีการบริหารจัดการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

จัดอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการคัดแยกขยะให้กับคนในชุมชน มีการจัดกิจกรรมแข่งขันในแต่ละคุ้ม

5

 

ปัญหาถังขยะไม่พียงพอ

ถังขยะมีน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนชาวบ้านที่อยู่อาศัยในแต่ละคุ้มบ้าน

 

ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการจัดหาถังขยะ

 

6

ปัญหาการถนน

ถนนบางสายเป็นหลุมเป็นบ่อและการเดินทางไม่สะดวก

 

ซ่อมแซมถนนและก่อสร้างถนน

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของตำบล

  1. แผนที่ตำบล 2. ประวัติความเป็นมาของตำบล            เทศบาลตําบลปาเสมัส เป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริห...