วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของตำบล

 1. แผนที่ตำบล


2. ประวัติความเป็นมาของตำบล

          เทศบาลตําบลปาเสมัส เป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตําาบลปาเสมัส เป็นเทศบาลตําาบลปาเสมัส ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2555 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 6กันยายน 2555 ดําาเนินการตามอําานาจหน้าที่เป็นไปตามระเบียบเทศบาล พ.ศ.2496 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 (พ.ศ.2552) เพื่อบริการประชาชน และพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลความเป็นมา คําาว่า ปาเสมัส” เป็นภาษายาวีท้องถิ่น แปลว่า ทรายทอง บุคคลดั้งเดิมได้บอกกล่าวต่อ ๆ กันมาว่า เนื่องจากพื้นที่บางส่วนของตําบลปาเสมัส ติดชายแดนมาเลเซีย มีแม่น้ำสุไหงโก-ลกไหลผ่าน จะมีเนินทรายสีขาวตลอดทั้งสองฝั่งไทย – มาเลเซีย ในเวลาช่วงเที่ยงแสงแดดส่อง เม็ดทรายจะสะท้อนเป็นสีทองระยิบระยับสวยงามมาก แต่ในปัจจุบันยังมีร่องรอยดังกล่าวให้เห็นไม่มากนัก เนื่องจากความเจริญของบ้านเมือง

3. พื้นที่ทั้งหมด 38.192 ตารางกิโลเมตร

4. อาณาเขต

   ตำบลปาเสมัส ตั้งอยู่ในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ห่างจากอำเภอทว่าการอำเภอสไหงโก-ลก ไปทางทิศใต้  4 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนราธิวาส ไปทางทิศเหนือ 54 กิโลเมตร  มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

         ทิศเหนือ          ติดต่อกับเขตตำบลปูโยะอำเภอสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาส  

          ทิศใต้              ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาส

          ทิศตะวันออก    ติดต่อกับแม่น้ำสุไหงโก-ลก (พรมแดนไทยมาเลเซีย)

          ทิศตะวันตก      ติดต่อกับเขตอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

5. ลักษณะภูมิประเทศ

          ลักษณะโดยทั่วไปของตำบลปาเสมัสเป็นที่ราบลุ่ม ครั้งหนึ่งเป็นเขตป่าสงวนมีแม่น้ำสุไหงโก-ลกผ่านตามแนวเขตระหว่างตำบลปาเสมัสมาเลเซีย มีบึงขนาดใหญจำนวน แห่ง ชื่อว่า บึงบอยอ” มีเนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ และ บึงกูเจ” มีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ตั้งอยู่หมู่ที่ 4

6. จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 20,393 คน แยกเป็น ชาย 9,799 คน หญิง 10,594 คน

    6.1 ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ) รวมทั้งสิ้น 399 คน แยกเป็น

          ชาย 212 คน หญิง 189 คน

    6.2 คนพิการ รวมทั้งสิ้น 300 คน แยกเป็น ชาย 189 คน หญิง 111 คน

7. จำนวนครัวเรือน 2599 ครัวเรือน (ตามทะเบียน/ตามข้อมูลการจัดเก็บ จปฐ )

8. การประกอบอาชีพ

    8. ๑ อาชีพหลักของครัวเรือน

           8. ๑. ๑ อาชีพ รับจ้างทั่วไป       จำนวน  3902  คน/ครัวเรือน

           8. ๑. ๒ อาชีพ ค้าขาย             จำนวน  665    คน/ครัวเรือน

           8. ๑. 3 อาชีพ เกษคร ทำสวน    จำนวน  103    คน/ครัวเรือน

           8. ๑. 5 อาชีพ รับราชการ        จำนวน  294    คน/ครัวเรือน

           8. ๑. 6 อาชีพ พนักงานบริษัท    จำนวน  310    คน/ครัวเรือน

           8. ๑. 7 อาชีพ รัฐวิสาหกิจ        จำนวน   2       คน/ครัวเรือน

           8. ๑. 8 อาชีพ อาชีพอื่นๆ         จำนวน  11      คน/ครัวเรือน

    8. ๒ อาชีพเสริมหรืออาชีพรอง

          8. ๒. ๑ อาชีพ ทำขนม             จำนวน   92     คน/ครัวเรือน

          8. ๒. ๒ อาชีพ ตัดเย็บ              จำนวน   56     คน/ครัวเรือน

          8. ๒. 3 อาชีพ ปลูกผัก             จำนวน  184   คน/ครัวเรือน  

          8. ๒. 4 อาชีพ เย็บตับจากสาคู    จำนวน  27      คน/ครัวเรือน

          8. ๒. 5 อาชีพ หาของป่า           จำนวน  12      คน/ครัวเรือน

9. ผู้ว่างงาน จำนวน 1480 คน แยกเป็น

          9. ๑ กลุ่มอายุ ๑๓ ๑๔ ปี        จำนวน  148  คน

          ๔. ๒ กลุ่มอายุ ๑๙ - ๒๕ ปี        จำนวน  449  คน

          ๙. ๓ กลุ่มอายุ ๒๕ ปี ขึ้นไป        จำนวน  883  คน

 10. ตำบลมีรายได้ 28,421,000   บาท/ปี   รายจ่าย 19,185,000  บาท/ปี

       มีหนี้สิน 19,185,000 บาท / ปี

11. รายได้เฉลี่ยของประชากร (ตามเกณฑ์จปฐ. ปี)   จำนวน 49808.64 บาท/คน/ปี

      ครัวเรือนยากจน (รายได้ไม่ถึง ๓๘000 บาท คน/ปี) ปี 2562

      จำนวน 36 ครัวเรือน


12. กองทุนในตำบล  มีจำนวน 3 กองทุน ดังนี้

    ๑๓.๑ กองทุนหมู่บ้าน   มีจำนวน 8 กองทุน

            มีงบประมาณรวม 8,000,000 บาท

    ๑๓.๒ กองทุนแม่ของแผ่นดิน  มีจำนวน 6 กองทุน

            มีงบประมาณรวม 68,000 บาท

    ๑๓.๓ กองทุน โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ  มีจำนวน 3 กองทุน

            มีงบประมาณรวม 1,500,000 บาท

13. ข้อมูลความต้องการพัฒนาฝีมือแรงงานของประชาชน

       อาชีพทำขนม                           จำนวน  105    คน     

       ทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้                  จำนวน    ๑๐    คน

       ทำลูกชิ้นปลาเพื่อการจำหน่าย         จำนวน    ๒๐    คน

       อาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า                     จำนวน    45    คน

       อาชีพช่างเชื่อม                         จำนวน    ๑๕    คน

       อาชีพช่างตัดผม                         จำนวน     22    คน

       อาชีพทำเฟอร์นิเจอร์                   จำนวน    20    คน     

14 ข้อมูลคมนาคม/สาธารณูปโภค

    14.1 การเดินทางเข้าตำบล

          การคมนาคมเทศบาลตำบลปาเสมัสมีถนนเส้นทางหลักของทางหลวงแผ่นดินสาย ๔๐๕๓๗ ตากใบ-สุไหงโกลกประชาชนได้ใช้เส้นทางหลักนี้เป็นเส้นทางในการการคมนาคมและการขนส่ง ได้แก่ ทางรถยนต์และในเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงมีการคมนาคมทางรถไฟจากกรุงเทพฯไปแยกที่สถานีทางหาดใหญ่สุดปลายทางที่สถานีสุไหงโก-ลก (ชายแดนไทย-มาเลเซีย) และจากสถานีสุไหงโก-ลกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งบริการเป็นประจำทุกวัน ๆ ละ ๑๖ ขบวนและมีถนนต่าง ๆ

    14.2 สาธารณูปโภค

การไฟฟ้า

          ปัจจุบันการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสุไหงโก-ลกสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าในหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลปาเสมัสรวม ๔ หมู่บ้านดังนี้

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้

1

บ้านชรายอ

976

2

บ้านตือระ

546

3

บ้านกวาลอชีราออก

298

4

บ้านมือบา

342

5

บ้านน้ำตก

1,824

6

บ้านชรายอออก

1,325

7

บ้านกวาลอชีรา

378

8

บ้านลูโบ๊ะซามา

259

รวมทั้งสิ้น

5,948

 

 

การประปา

          ในเขตเทศบาลตำบลปาเสมัส มีระบบประปาหมู่บ้านและระบบประปาส่วนภูมิภาค

          - ระบบประปาหมู่บ้านจำนวน ๑๑ แห่งดังนี้

           (๑) ประปาหมู่บ้านหมู่ที่           ๒                 จํานวน แห่ง

           (๒) ประปาหมู่บ้านหมู่ที่           ๓                 จำนวน ๓ แห่ง

           (๓) ประปาหมู่บ้านหมู่ที่           ๔                 จำนวน ๒ แห่ง

           (๔) ประปาหมู่บ้านหมู่ที่           ๕                 จำนวน ๒ แห่ง

           (๕) ประปาหมู่บ้านหมู่ที่           ๑ (บาดาล)       จำนวน ๒ แห่ง

    - ระบบประปาส่วนภูมิภาคดังนี้

          หมู่ที่ ๑หมู่ที่ ๒หมู่ที่ ๓หมู่ที่ ๔หมู่ที่ ๕หมู่ที่ ๖หมู่ที่ ๗หมู่ที่ 8

 

    -ครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลปาเสมัสมีน้ำประปาดังนี้

 

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือนที่มีน้ำประปา

บ่อน้ำตื้น

1

บ้านชรายอ

520

456

2

บ้านตือระ

389

157

3

บ้านกวาลอชีราออก

120

178

4

บ้านมือบา

200

142

5

บ้านน้ำตก

1789

35

6

บ้านชรายอออก

1290

62

7

บ้านกวาลอชีรา

264

114

8

บ้านลูโบ๊ะซามา

148

111

รวมทั้งสิ้น

4572

1255

 

โทรศัพท์

          - โทรศัพท์สาธารณะจำนวน ๑๕ แห่ง

          - เสาสัญญาณ DTAC จำนวน ๒ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๓)

          - เสาสัญญาณสื่อสาร GSM จำนวน ๒ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๓)

          - หอกระจายข่าวจำนวน ๑๒ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑-๔)

          - วิทยุชุมชนจำนวน ๒ สถานี (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ และหมู่ที่ ๗)

 

ไปรษณีย์ / การสื่อสาร / การขนส่งวัสดุครุภัณฑ์

          มีไปรษณีย์จำนวน ๑ แห่งให้บริการเวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.00 น. (ในวันจันทร์-เสาร์วันเสาร์ครึ่งวัน) หยุดวันอาทิตย์

 

14.3 แหล่งน้ำ

    แหล่งน้ำธรรมชาติ ตำบลปาเสมัส มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบด้วย

          - บึง   จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ บึงบอยอ (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓) และบึงกูเจตั้งอยู่หมู่ที่ ๔

          - ลำน้ำจำนวน ๕ สาย (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๔ และหมู่ที่ ๕)

          - ลำห้วยจำนวน ๓ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒๓ และหมู่ที่ ๔)

    แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นและใช้การได้ ประกอบด้วย

          - ประปาหมู่บ้านจำนวน ๑๑ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๔ และหมู่ที่ ๔)

          - บ่อน้ำตื้นจำนวน ๔ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๓)

          - บ่อน้ำบาดาลจำนวน ๓ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๓๗)

          - คลองชลประทานจำนวน ๑ แห่ง (ผ่านหมู่ที่ ๒๔ และหมู่ที่ ๕)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของตำบล

  1. แผนที่ตำบล 2. ประวัติความเป็นมาของตำบล            เทศบาลตําบลปาเสมัส เป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริห...